เมนู

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [5. สฬายตนวรรค]
10. อินทริยภาวนาสูตร

อุเบกขาย่อมดำรงมั่น เปรียบเหมือนบุรุษมีกำลังดีดนิ้วมือได้โดยไม่ยาก แม้ฉันใด
ความชอบใจ ความไม่ชอบใจ ความชอบใจและความไม่ชอบใจอันเกิดขึ้นแล้วแก่
ภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมดับไปอย่างเร็วพลันทันที โดยไม่ยาก
อย่างนี้
อานนท์ นี้เราเรียกว่า การเจริญอินทรีย์ในเสียงที่พึงรู้แจ้งทางหูอันยอดเยี่ยม
ในอริยวินัย
[456] อีกประการหนึ่ง ภิกษุดมกลิ่นทางจมูกแล้วจึงเกิดความชอบใจ เกิด
ความไม่ชอบใจ และเกิดทั้งความชอบใจทั้งความไม่ชอบใจ ภิกษุนั้นรู้ชัดอย่างนี้ว่า
‘เราเกิดความชอบใจ เกิดความไม่ชอบใจ และเกิดทั้งความชอบใจและความไม่
ชอบใจนี้แล้ว ความชอบใจเป็นต้นนั้นถูกปัจจัยปรุงแต่ง เป็นของหยาบ อาศัยกัน
และกันเกิดขึ้น ยังมีสิ่งที่ละเอียด ประณีต คือ อุเบกขา’ ความชอบใจ ความไม่ชอบใจ
ความชอบใจและความไม่ชอบใจนั้น ที่เกิดขึ้นแล้วแก่ภิกษุนั้นจึงดับไป อุเบกขา
ย่อมดำรงมั่น เปรียบเหมือนหยาดน้ำกลิ้งไปบนใบบัวที่เอียงนิดหน่อย ย่อมไม่ติดอยู่
แม้ฉันใด ความชอบใจ ความไม่ชอบใจ ความชอบใจและความไม่ชอบใจอันเกิด
ขึ้นแล้วแก่ภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมดับไปอย่างเร็วพลันทันที โดย
ไม่ยากอย่างนี้ อุเบกขาย่อมดำรงมั่น
อานนท์ นี้เราเรียกว่า การเจริญอินทรีย์ในกลิ่นที่พึงรู้แจ้งทางจมูกอันยอด
เยี่ยมในอริยวินัย
[457] อีกประการหนึ่ง ภิกษุลิ้มรสทางลิ้นแล้วจึงเกิดความชอบใจ เกิด
ความไม่ชอบใจ และเกิดทั้งความชอบใจและความไม่ชอบใจ ภิกษุนั้นรู้ชัดอย่างนี้ว่า
‘เราเกิดความชอบใจ เกิดความไม่ชอบใจ และเกิดทั้งความชอบใจและความไม่
ชอบใจนี้แล้ว ความชอบใจเป็นต้นนั้นถูกปัจจัยปรุงแต่ง เป็นของหยาบ อาศัยกัน
และกันเกิดขึ้น ยังมีสิ่งที่ละเอียด ประณีต คือ อุเบกขา’ ความชอบใจ ความไม่ชอบใจ
ความชอบใจและความไม่ชอบใจนั้น ที่เกิดขึ้นแล้วแก่ภิกษุนั้นจึงดับไป อุเบกขา
ย่อมดำรงมั่น เปรียบเหมือนบุรุษมีกำลังตะล่อมก้อนเขฬะไว้ที่ปลายลิ้น แล้วถ่ม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 14 หน้า :506 }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [5. สฬายตนวรรค]
10. อินทริยภาวนาสูตร

ไปโดยไม่ยาก แม้ฉันใด ความชอบใจ ความไม่ชอบใจ ความชอบใจและความไม่
ชอบใจอันเกิดขึ้นแล้วแก่ภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมดับไปอย่างเร็ว
พลันทันที โดยไม่ยากอย่างนี้ อุเบกขาย่อมดำรงมั่น
อานนท์ นี้เราเรียกว่า การเจริญอินทรีย์ในรสที่พึงรู้แจ้งทางลิ้นอันยอดเยี่ยม
ในอริยวินัย
[458] อีกประการหนึ่ง ภิกษุถูกต้องโผฏฐัพพะทางกายแล้วจึงเกิดความ
ชอบใจ เกิดความไม่ชอบใจ และเกิดทั้งความชอบใจและความไม่ชอบใจ ภิกษุนั้น
รู้ชัดอย่างนี้ว่า ‘เราเกิดความชอบใจ เกิดความไม่ชอบใจ และเกิดทั้งความชอบใจ
และความไม่ชอบใจนี้แล้ว ความชอบใจเป็นต้นนั้นถูกปัจจัยปรุงแต่ง เป็นของหยาบ
อาศัยกันและกันเกิดขึ้น ยังมีสิ่งที่ละเอียด ประณีต คือ อุเบกขา’ ความชอบใจ
ความไม่ชอบใจ ความชอบใจและความไม่ชอบใจนั้นที่เกิดขึ้นแล้วแก่ภิกษุนั้นจึงดับไป
อุเบกขาย่อมดำรงมั่น เปรียบเหมือนบุรุษมีกำลังเหยียดแขนออกหรือคู้แขนเข้า แม้
ฉันใด ความชอบใจ ความไม่ชอบใจ ความชอบใจและความไม่ชอบใจอันเกิดขึ้น
แก่ภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมดับไปอย่างเร็วพลันทันที โดยไม่ยาก
อย่างนี้ อุเบกขาย่อมดำรงมั่น
อานนท์ นี้เราเรียกว่า การเจริญอินทรีย์ในโผฏฐัพพะที่พึงรู้แจ้งทางกาย
อันยอดเยี่ยมในอริยวินัย
[459] อานนท์ อีกประการหนึ่ง ภิกษุรู้แจ้งธรรมารมณ์ทางใจแล้วจึงเกิด
ความชอบใจ เกิดความไม่ชอบใจ และเกิดทั้งความชอบใจและความไม่ชอบใจ
ภิกษุนั้นรู้ชัดอย่างนี้ว่า ‘เราเกิดความชอบใจ เกิดความไม่ชอบใจ และเกิด
ทั้งความชอบใจและความไม่ชอบใจนี้แล้ว ความชอบใจเป็นต้นนั้นถูกปัจจัยปรุงแต่ง
เป็นของหยาบ อาศัยกันและกันเกิดขึ้น ยังมีสิ่งที่ละเอียด ประณีต คือ อุเบกขา’
ความชอบใจ ความไม่ชอบใจ ความชอบใจและความไม่ชอบใจนั้นที่เกิดขึ้นแล้วแก่
ภิกษุนั้นจึงดับไป อุเบกขาย่อมดำรงมั่น เปรียบเหมือนบุรุษมีกำลัง เอาหยดน้ำ 2
หยด หรือ 3 หยดใส่ลงในกะทะเหล็กที่ร้อนจัดตลอดวัน น้ำที่หยดลงยังช้าไป

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 14 หน้า :507 }